ภัยเงียบจากแสงสีฟ้า 

ปัจจุบันมนุษย์มักจะนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน หรือติดต่อข่าวสารต่าง ๆ มากว่าโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากใช้งานเป็นประจำก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้ว่าแสงที่ลอดส่งออกมาบนจอมือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์นั้นส่งผลเสียต่อตาของเราอย่างไรบ้าง หากมีการใช้งานเป็นเวลานานเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้รู้สึกปวดตาได้ เพราะว่าแสงจะส่งผลทำให้เรามองไม่ค่อยชัดและอาจทำให้เกิดสายตาสั้นขึ้นมาทันที

แสงสีฟ้านั้นสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในจอประสาทของตา ซึ่งแสงมีพลังในการทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาที่มากกว่าแสงสีอื่น ๆ ดังนั้นการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ในที่มืดจึงไม่เหมาะสม และเป็นความเสี่ยงที่เราต้องคำนึงถึง ฉะนั้นวันนี้เราจะบอกสาระเกี่ยวกับแสงสีฟ้าว่ามีผลเสีย

และผลกระทบอย่างไรบ้างต่อสายตามนุษย์เรา หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าแสงสีฟ้านั้นจะส่งผลเสียต่อสายตาโดยตรง ซึ่งจะสามารถทะลุเข้าผ่านม่านตา หรือกระจกตาได้ หากได้รับแสงเป็นเวลานาน หรือเป็นประจำนั้นผลเสียที่ได้ คือ 

  • ตาแห้ง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์นั้นหน้าจอจะมีขนาดเล็ก จึงทำให้เรานั้นจ้องมองเข้าไปใกล้ ๆ โดยที่เราไม่ได้ใส่แว่น จะส่งผลเสียทำให้ตาของเรานั้นรู้สึกแห้งได้
  • ตาล้า อาการตาล้า เป็นอาการที่เราจ้องมองหน้าจออุปกรณ์นั้นมากเกินไป เพราะอุปกรณ์ที่เราจ้องนั้นมีแสงที่สว่างมากเกินไป จึงทำให้สายตาของเรานั้นทำงานหนักกว่าเดิม
  • จอประสาทตาเสื่อม แน่นอนว่าแสงสีฟ้ารั้นมีความสามารถทะลุเข้าผ่านม่านตา กระจกตา ซึ่งจะทะลุเข้าเพื่อไปทำลายเซลล์ต่าง ๆ ภายในตาจากการรับแสง โดยปัจจัยที่สำคัญในการที่ทำให้สายตาเสียเร็วก็อาจจะมาจากการที่เราจ้องกับจอคอมพิวเตอร์หรือจ้องจอโทรศัพท์ในที่มีบ่อย หรือมากเกินไป  จึงทำให้สายตามีการทำวานที่หนักขึ้นจนเกิดผลเสีย

อย่างไรก็ตาม การที่เราจะพักสายตา ก็คงจะเป็นการที่เรานอน หรือหลับตาเพื่อพักผ่อนสายตาสักนิดซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อลดการจ้องมองกับแสงสีฟ้ามากเกินไป การนอนหลับตาจะเป็นการทำให้สายตานั้นรู้สึกบรรเทา และลดความเมื่อยล้าตรงบริเวณรอบ ๆ ดวงตา นอกจากการนอนหลับตาแล้ว การดื่มน้ำที่สะอาด หรือรับประทานผักผลไม้ยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของดวงตาได้อีกด้วย

และถ้ายิ่งเป็นอาหารที่บำรุงสายตาโดยตรงจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น หากหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงในการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ในที่มืด เพื่อลดความเสี่ยงต่อสายตา โดยที่ไม่สายตาของเรานั้นต่อสู้กับแสงสีฟ้ามากเกินไป เพราะหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้ว ก็จะยุ่งยากต่อการเข้ารับการรักษาอีก

 

 

ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนโดย  หวยหุ้นสิงคโปร์